การใช้เฟซบุ๊ก
เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่ยังคงเฟื่องฟูและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆ
นำ เฟซบุ๊กไปประยุกต์ใช้เป็นศูนย์แห่งการ
เรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการในการเรียนการสอนรวมถึงการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน
ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน
จากการค้น “เฟซบุ๊กเพื่อการศึกษา (Facebook
for Education)”ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 922 ล้านรายการ
และจากการค้น“ศูนย์แห่งการเรียนรู้บนเฟซบุ๊ก (Learning
Center on Facebook)”ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 173 ล้านรายการ
จะเห็นได้ว่ามีการนำเฟซบุ๊กไปประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาและเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ
มากมาย ยิ่งกว่าไปนั้น เฟซบุ๊กได้เป็นสื่อสังคมยอดนิยมสำหรับครูผู้สอน
ซึ่งเมื่อเมษายน 2554 “เพียร์สัน (Pearson)”ได้รายงานผลสำรวจการใช้สื่อสังคมของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษาประมาณ 2,000
แห่ง จากบล็อก “เอ็ดดูเดมิก (edudemic.com)”สรุปได้ว่า ครูผู้สอนร้อยละ 57 นิยมใช้เฟซบุ๊กในด้านส่วนตัวและครูผู้สอน
ร้อยละ 30 ใช้เฟซบุ๊กในด้านวิชาชีพ
เว็บ “พีซีเทคแม็กกาซีน (www.pctechmagazine.com)”ได้อ้างถึงเหตุผล
4 ประการที่ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เฟซ
บุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา
1. การพัฒนาด้านภาษาซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เฟซบุ๊กในการติดต่อสื่อสารและแสดงความเห็นต่างๆ
เกี่ยวกับวิชาที่เรียนบนเฟซบุ๊ก ทั้งนี้ การใช้
เฟซบุ๊กเป็นประจำในการเขียนและอ่านข้อความต่างๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการเขียน
การสะกดคำ และการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง
2.
การสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งเป็นสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน
ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
รวมถึงสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่างๆ มากยิ่งขึ้น
3. การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งเฟซบุ๊กเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้
ผู้เรียนผู้ใดผู้หนึ่งจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้เรียนผู้อื่นเป็นกลุ่ม
ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตาม
4. เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ซึ่งการใช้เฟซบุ๊กในการเรียนการสอน
จะช่วยผู้เรียนมีความสนใจและมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ
สิ่งที่ครูผู้สอนพึงปฏิบัติในการใช้เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนนั้น
เมื่อมิถุนายน2554 เว็บ “ออลเฟซบุ๊ก(www.allfacebook.com)”ได้นำเสนอเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดไว้ 7
ประการเพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนใช้เฟซบุ๊กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- ห้ามครูผู้สอนระบายอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ
ที่มีต่อผู้เรียนในเชิงลบผ่านเฟซบุ๊ก
- ควรกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียนให้ชัดเจน
- ในกรณีที่ยกเลิกการเรียนการสอนในห้องเรียนเพราะสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
ครูผู้สอนสามารถใช้เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนโดยการกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับวิชาที่สอนเพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- ไม่ควรใช้ข้อความที่รุนแรงในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนและสถานศึกษา
- หลีกเลี่ยงการแสดงข้อความที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งที่รุนแรง
- ควรตั้งค่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ
ที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้
- ควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนในเชิงบวกเท่านั้น
เฟซบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้
หรือ แอพพลิเคชัน หรือ“แอพส์ (Apps =
Applications)” เพื่อการศึกษามากมายที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ
ตัวอย่างเช่น
1.
“ไฟลส์ (Files)”สำหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน
2.
“เมกอะควิซ (Make
a Quiz)”สำหรับสร้างคำถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน
3.
“คาเลนเดอร์ (Calendar)”สำหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ
4.
“คอร์ส(Course)” สำหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน
นอกจากนี้
ยังมีแอพส์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนและแบ่งปันเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ตัวอย่างเช่น
1.
“วีรีด (weRead)”
สำหรับจัดการรายชื่อหนังสือให้ผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น
2.
“คลาสโน้ตส์ (Class
Notes)”สำหรับถ่ายภาพในขณะที่ครูผู้สอนเขียนเนื้อหาบนกระดาน
หรือคัดลอกเนื้อหาที่เรียน แล้วนำไปโพสต่อเพื่อแบ่งปันผู้อื่น
สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าอินเทอร์เน็ตแล้วค้นหาข้อมูลแอพส์ของ เฟซบุ๊กเพื่อการศึกษาได้
จะเห็นได้ว่า
เฟซบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้และเป็นห่วงโซ่การศึกษาขนาดใหญ่ที่ทรงประสิทธิภาพในการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด
ซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา ตลอดวันละ24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ฉะนั้น
ผู้บริหารการศึกษาจึงควรกำหนดแนวปฏิบัติในการใช้เฟซบุ๊กอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านการใช้เฟซบุ๊กไปในทางที่ผิดหรือด้านการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่สถานศึกษา
ยิ่งกว่านั้น
ผู้บริหารการศึกษาจำเป็นต้องพัฒนานโยบายการใช้เฟซบุ๊กที่มีอยู่เป็นระยะๆ
เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ข้อดีของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน
1.
สื่อสารถึงนักศึกษาได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้อีเมลล์หรืออีเลิร์นนิ่ง
2.
ส่งเสริมการกระตุ้นให้นักศึกษาได้แบ่งปันความรู้
แลกเปลี่ยนความคิดได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
3.
นักศึกษามีความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ข้อเสียของการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอน
1.
อาจละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
2.
อาจารย์หรือนักศึกษาไม่เป็นส่วนตัวในการข้อความหรือรูปภาพต่างๆ
(ที่มา : http://www.dmaonline.in.th/index.php?modules=article&f=view&cat_id=3&id=58)